วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของเครื่องจักร CNC









เครื่องจักร CNC เป็นเครื่องจักรที่พัฒนามาจากเครื่องจักร NC เครื่องจักร NC เครื่องแรกถูกสร้างขึ้นไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ในขณะนั้นบริษัทพาร์สันส์ เวอร์กของนายจอร์น พาร์สันส์ (John Parsons) เป็นบริษัทที่สามารถผลิตใบพัดเฮลิคอบเตอร์ได้เที่ยงตรงและรวดเร็ว โดยใช้เทคนิคการผลิต “ด้วยตัวเลข” (by-the-number) ผลิตเทมเพรท เทคนิคการผลิตด้วยตัวเลขคือการใช้เครื่องกัดเจาะรูตามตำแหน่งที่กำหนดไว้เป็นรูปร่างที่ต้องการคร่าวๆ จากนั้นจึงใช้คนแต่งละเอียดอีกครั้ง

นายบิล สตอท (Bill Stout) วิศวกรของบริษัทพาร์สันส์ เวอร์กได้พัฒนาเทคนิคนี้โดยเขียนชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานด้านบัญชีในขณะนั้นคำนวณเพิ่มจุดเจาะจาก 17 จุดเป็น 200 จุดและใช้คนงานสองคนบังคับแกนของเครื่องกัดคนละแกนให้เคลื่อนที่ไปตามตารางที่สร้างขึ้นเพื่อเจาะรูตามตำแหน่งทั้ง200จุด ด้วยวิธีนี้เองที่ทำให้เวลาที่ใช้ในการแต่งละเอียดแผ่นเทมเพรทลดลงอย่างมากและแผ่นเทมเพรทที่ได้ก็มีความเที่ยงตรงสูง



ลักษณะการผลิตด้วยตัวเลข




ต่อมาบริษัทได้รับการติดต่อจากกองทัพอากาศสหรัฐให้ผลิตปีกเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีความซับซ้อนและเที่ยงตรงสูงกว่าที่เทคนิคการผลิตในสมัยนั้น(ช่วง ค.ศ.1940) จะทำได้ บริษัทพาร์สันส์ เวอร์กจึงได้เสนอให้สร้างเครื่องกัดที่ใช้เซอโวมอเตอร์ควบคุมแกนทั้งสามแกน ทางกองทัพตอบตกลง การสร้างเครื่องจักรNC เครื่องแรกจึงเริ่มขึ้น

บริษัทพาร์สันส์ เวอร์กแบ่งงานออกแป็นสามส่วน ดังนี้
1.บริษัทซินเดอร์ (Snyder Corporation) ผลิตตัวเครื่อง
2.บริษัทIBM ผลิตเครื่องอ่านเทปเจาะรู
3.ห้องวิจัยด้านกลไกเซอโวของ MIT (Servo Mechanisms Laboratory of the Massachusetts Institute of Technology) ผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับกลไกเซอโว

ในขณะเดียวกันนั้นวิศวกรของบริษัท General Motor ได้ติดอุปกรณ์จับตำแหน่งและกลไกเซอโวเข้ากับเครื่องกลึงทำให้เครื่องกลึงสามารถบันทึกตำแหน่งในการเดินเครื่องผลิตงานด้วยคนในครั้งแรก จากนั้นจึงสามารถป้อนข้อมูลที่บันทึกกลับให้กลไกเซอโวเดินเครื่องผลิตงานชิ้นต่อไป เทคนิคการบันทึกแล้วเล่นกลับนี้ปัจจุบันยังคงใช้กับเครื่องวัดตำแหน่งแบบ CNC (CNC Coordinate Measuring Machine) และหุ่นยนต์อุตสาหกรรมบางประเภท

กองทัพอากาศเลือกที่จะสนับสนุนวิธีของพาร์สันส์เนื่องจากสามารถสร้างงานที่มีความซับซ้อนสูงกว่าโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณ และยังลดปัญหาการหยุดชงักของการผลิตเนี่องจากการนัดหยุดงานของคนงานอีกด้วย

ในเดือนกันยายนปีค.ศ.1952 MIT เปิดแสดงสาธิตเครื่องจักร NC เครื่องแรกของโลกจอร์น พาร์สันส์ เสียชีวิตเมื่อวันพุธที่19เดือนเมษายนปี ค.ศ. 2007 มีอายุรวม 93 ปี



1947 - จอร์น พาร์สันส์เริ่มทดลองใช้ระบบการผลิตด้วยตัวเลข
• 1949 - จอร์น พาร์สันส์ เซ็นสัญญากับกองทัพอากาศสหรัฐเพื่อสร้างเครื่องจักร
• 1952 – MIT สาทิตเครื่องจักร NC ครั้งแรกโดยการกัดงานที่ดอกกัดมีการเคลื่อนที่ ในสองแกนพร้อมกัน
• 1955 – มีการจัดแสดงเครื่องจักร NC เพื่อการค้าเป็นครั้งแรก
• 1957– เครื่องจักร NC ติดตั้งลงในสายการ ผลิตเป็นเครื่องแรก
• 2007– จอร์น พาร์สันส์ เสียชีวิต เครื่องจักร NC ได้รับการพัฒนาเป็นเครื่องจักร CNC และมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย .



จำนวนแกนของเครื่องจักร
การนับจำนวนแกนของเครื่องจักรจะนับจากแกนที่เครืองจักรสามารถเคลื่อนเครื่องมือตัดไปในทิศทางต่าง ๆ ในศูนย์งานแมชชีนปัจจุบันจะเริ่มจากสามแกนคือ X, Y และ Z

แต่เครื่องจักรรุ่นเก่าๆจะมีแบบที่ถูกเรียกว่าเป็นเครื่องสองแกนครึ่งเนื่องจากแกน Z ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปพร้อมกับแกน X Y ได้

เช่นถ้าต้องการสั่งให้เครื่องเคลื่อนที่จาก (0,0,0) ไปที่ (10,10,10)

ในเครื่องสองเแกนครึ่งจะต้องสั่งให้เครื่องเคลื่อนที่ในแนวแกน Z ก่อน คือจาก (0,0,0) ไปที่ (0,0,10) แล้วจึงสั่งให้เคลื่อนไปที่จุด (10,10,10) ต่อไป

เขียนเป็น G-code ได้ดังนี้

G01Z10.0F100.0;

X10.0Y10.0;

ในขณะที่เครื่องสามแกนจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้พร้อมกันทั้งสามแกนเขียนเป็น G-code ได้ดังนี้

G01Z10.0X10.0Y10.0F100.0;

หากมีการติดตั้งแกนหมุนเข้าไปก็จะเป็นเครื่องสี่แกนโดย

ถ้าแกนที่เพิ่มเข้ามาเป็นแกนหมุนรอบแกน X จะถูกเรียกว่าแกน A

ถ้าหมุนรอบแกน Y ก็จะเป็นแกน B

แกนหมุนที่เพิ่มเข้ามาหากไม่สามารถทำงานพร้อมกับแกนอื่นๆก็จะถูกนับเป็นครึ่งแกนเช่นเดียวกัน ในกรณีที่เป็นเครื่องสามแกนพื้นฐานที่ถูกติดตั้งโต๊ะหมุนเพิ่มเติม

หากโต๊ะหมุนเป็นแค่ครึ่งแกนจะเรียกว่า Indexing Table หากเป็นแบบเต็มแกนจะเรียกว่า Turn Table.


วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552